วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาภาษาไทย ราคาสินค้า จำนวนนักเรียนในโรงเรียน
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆแล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการการประมวล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ
ความรู้ หรือองค์ความรู้ (Knowledge)ความรู้มีความหมายหลัก ๆ อยู่ 2 ประการ คือ
ความรู้ หมายถึง เนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็นความคิด ทฤษฎี หลักการและรูปแบบ (หรือกรอบความคิดอื่น ๆ ) หรือข้อมูลอื่น ๆ ก็มีความจำเป็น เช่น ความรู้ด้านเคมี ด้านคณิตศาสตร์ เป็นต้น

ความรู้ หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้กล่าวอ้างถึงข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ หรือเกิน
จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมาพูดถึงด้วยความเชื่อถือ หรือความศรัทธา

ความสำคัญของสารสนเทศการรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศ เพื่อการใช้งาน.............................
1การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลควรประกอบด้วย
1.1 การรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความน่าเชื่อถือ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกัน เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ

2. การประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้2.1 การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการ ใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน เพื่อความสะดวกในการค้นหา
2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่าย ประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือ ในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ตามลำดับตัวอักษร
2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสรุปรายงาน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
2.4 การคำนวณข้อมูลที่เก็บรวบรวมมีเป็นจำนวนมากข้อมูลบางส่วน เป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณ เพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักเรียนแต่ละคน

การพัฒนาโปรแกรม


1.      ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม 

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย
             1. การวิเคราะห์ปัญหา
              2. การออกแบบโปรแกรม
              3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
              4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
              5. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
              6. การบำรุงรักษาโปรแกรม

1.การวิเคราะห์ปัญหา

  การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1.กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง
2.พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า
3. พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง
4. พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล

2. การออกแบบโปรแกรม
               การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudo code) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น

3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
              การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
              การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น
               1. สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ
               2.ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้
                3. ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม      โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของ ภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน

5. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
             การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ
http://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAYQjB0&url=http%3A%2F%2Fpikkycll.blogspot.com%2F2013%2F08%2Fblog-post_14.html&ei=RMbIVJa0CMLSmgWx7IKQCw&bvm=bv.84607526,d.dGY&psig=AFQjCNH3t00iRqqPsGf1LD1dQTXBYNo4jg&ust=1422530497157424

อินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต
1.1 ความหมายของอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต (Internet)
 เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขององค์กรธุรกิจ หน่อยงานของรัฐบาล สถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถเข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรือร้านอาหารทั่วโลก
                ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเตอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล์ (e-mail) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ห้องคุย (chat room)
การส่งการทันที (Instant messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี

1.2 โครงสร้างพื้นฐานของอินเตอร์เน็ต
ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน อินเตอร์เชื่อมโยงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายอื่นด้วยความเร็วและคุณภาพที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสื่อสาร และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออพติก และคลื่นวิทยุ
                ถึงแม้ปัจจุบันพื้นที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเตอร์เน็ตก็ยังเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานทางของรัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการดูแล และจัดการจราจรข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตในเฉพาะเครือข่ายที่ได้รับผิดชอบ

1.3 การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
            ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียนหรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ที่ซึ่งเป็นอินเตอร์เน็ตในความเร็วต่ำ หรือเชื่อมต่อจากบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต (broadband internet connection) เช่น เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Line: ADSL) เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี  หรือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ หรืออินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
สถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มักจะมีบริการอินเตอร์เน็ตมีสายและไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์ และ พกพาสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้สะดวก
ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน  บริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทย  เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกช์อินโฟ กสท. โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และ สามารถเทลคอม นอกจากนี้ ไอเอสพี ยังให้บริการเสริมอื่น เช่น อีเมล เว็บเพจ  พื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างการเข้าสู่บริการอินเตอร์เน็ตโดยผ่านผู้ให้บริการ

1.4 การติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต 
            คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ต มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซีพียู หรือระบบปฏิบัติการนอกจากนี้รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่อินเทอร์เน็ตไม่จะเป็นแลนหรือแวนก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากใช้โพรโทคอลเดียวกันในกันสื่อสารที่เรียกว่า ทีซีพี/ไอที(Transmission Control Protocol/Internet Protocol: TCP/IP )

เลขที่อยู่ไอพี
 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่บนอินเทอร์เน็ต จะมีหลายเลขอ้างอิงในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า เลขที่อยู่ไอพีแอดเดรส (IP address) ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันเลย โดยไอพีแอดเดรสประกอบด้วยเลข 4 ชุด ซึ่งแยกกันด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 202.29.77.155 ซึ่งเป็นไอพีแอดเดรสของเว็บไซต์สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ระบบชื่อโดเมน
                เนื่องจากเลขที่อยู่ไอพีอยู่รูปแบบของชุดตัวเลขซึ่งยากต่อการจดจำและอ้างอิงระหว่างในการใช้งานดังนั้นจึงกำหนดให้มีระบบชื่อโดเมน (Domain Name System: DNS)ซึ่งแปลงเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นชื่อโดเมนที่อยู่ในรูปแบบของชื่อย่อภาษาอังกฤษหลายส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุด เช่น www.ipst.ac.th ผู้ใช้สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนสำหรับคอมพิวเตอร์ของตนผ่านผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนที่ได้รับอนุญาต ตัวอย่างระบบชื่อโดเมน

2เวิลด์ไวด์เว็บ
            เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู่ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงโพรโทคอลที่เรียกว่าเอชทีทีพี (Hypertext Transfer Protocol: HTTP) นอกจากนี้เวิลด์ไวด์เว็บคอนเซอร์เทียม ได้นิยามคำว่า เว็บ คือ จักรวาลของสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย และทำให้เกิดองค์ความรู้แกมนุษยชาติ สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ เช่น  เว็บเพจ (web page) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext markup language: HTML)ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นได้ โดยเรียกดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์
  เว็บไซต์ (web site) เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน ปละอยู่ภายใต้ชื่อ โดเมนเดียวกัน
  เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator : URL ) ระบุตำแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะวางเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้

2.1 การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser)
เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) เรียกสั้นๆ ว่า ลิงค์ (link)เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเตอร์เน็ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safari, Google Chrome และOpera

2.2 ที่อยู่เว็บ
ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator : URL) ซึ่งมีแบบดังนี้
โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพีลและเอฟทีฟี (File transfer protocol: FTP) ในกรณีของเชอทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่รระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ
ชื่อโดเมน ใช้สำหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ชื่อเมนwww.ipst.ac.th
  เส้นทางเข้าถึงไฟล์ (path) ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
            ชื่อข้อมูล ชื่อไฟล์ที่ร้องขอ เช่น ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์เสียง ในกรณีที่ยูอาร์แอลระบุเฉพาะชื่อโดเมนโดยไม่ได้ใช้ระบุเส้นทางเข้าถึงไฟล์ และ/หรือชื่อๆฟล์มีความหมายว่าให้เข้าถึงหน้าหลัก หรือโฮมเพจ (home page) ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งโยทั่วไปเป็นการเข้าถึงชื่อไฟล์ที่กำหนดไว้ เช่น index.html, main.phpและ default.asp

2.3 การค้นหาผ่านเว็บ
  โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ชเอนจิน (SEARCH ENGINES) ใช้ค้นหาสำหรับเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (KEYWORD) เพื่อนำไปค้นหาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ้งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว
โปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการข้อหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งของข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดิทัศน์ เสียง ข่าว แผ่นที่ หรือบล็อก โปรแกรมข้อหาแต่ละโปรแกรมอาจใช้วิธีที่แตกต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคำหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยู่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask AltaVista Bing Google และ yahoo
  ตัวการดำเนินการในกานค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมี่ประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดำเนินการในการค้นหา(search engine operators)ประกอบกับคำหลัก  จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น

2.4 เว็บ 1.0 และเว็บ2.0
เว็บ1.0(wed 1.0)เป็นเว็บในยุดแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้รับรายระเอียดไว้เพียงอย่างเดียวไม่ค่อยมีการปรับปรุงให้ทันสมัย และมีรูปแบบการใช้งานได้หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดหลายประการ เช่น ความรู้ความสามรถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู้อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ อีกทั้งจำนวนผู้สร้างเว็บมีอยู่เป็นจำนวนน้อย กว่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าถึงเว็บเพื่อบริโภคข้อมูลและสารสนเทศ
                ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆที่ปรากฏบนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ  รูปภาพ  วีดิทัศน์  ความคิดเห็น  การจัดอันดับ  ด้วยความแตกต่างที่พบได้ดังนี้จริงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (wed 2.0)
ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างจากเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซด์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์ มีการแบ่งปันข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพิ่มมากขึ้น

3บริการบนอินเตอร์เน็ต
บริการอินเตอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆทั้งในระดับ บุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบัน มีการบริการอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีในการบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต

3.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (E-mail)
บริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (E-mail Address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย
มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล
1. ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาอีเมล
2. เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน
3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเยื้อ เหมาะสมกับการะเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง
4. ใช้ DCC ในการระบุผู้รับเมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน DCC
5. อย่าใช้อักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือข่มขู่ผู้อ่าน
6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อความต้องการต่อการอ่าน
7. ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง
8. ใช้การตอบกลับ (Reply) แทนการเขียน (Compose) ข้อความใหม่
9. ใช้การตอบกลับไปยังทุกคนเมื่อจำเป็น
10. ใช้ตัวอักษรย่อหรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป

3.2 การสื่อสารในเวลาจริง (Real Time Communication) 
เป็นการสื่อสาร ระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้ต้องเข้าใช้ระบบในขณะเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้หนึ่งไปยังผู้ใช้หนึ่งทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และวอยซ์โอเวอร์ไอพี
แชท (Chat) เป็นการสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล หรือ ระหว่างกลุ่มบุคคล โดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์ เช่น windows live และ yahoo messenger ตัวอย่างโปรแกรมแชท
            ห้องคุย (Chat Room) เป็นการสนทนาผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจ จะสื่อสารในรูปแบบข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือ การใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสาร ตัวอย่างห้องคุย เช่น CHATABLANCA
             วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือวีโอไอพี (Voice Over IP : VoIP) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต

3.3  เว็บไซต์เครื่องข่ายทางสังคม (social networking web sites)
 เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดีทัศน์ การเล่าสู่กันฝังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ ตัวอย่างเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม เช่นfacebook,myspace,linkedin,hi5และ GotoKnow

3.4 บล็อก (Blog)
เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดเห็นของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบน คำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก” (Web log) เนื่องจากข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลหรือความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือมัลติมีเดียได้ ตัวอย่างของบล็อก เช่น Blogger, GoogleBlogและ BLOGGANG

3.5 ไมโครบล็อก (Microblog)
เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถแลกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง

5.3.6 วิกิ (Wiki)
 เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะเรื่อง หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ทุกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ดังนั้น วิกิ จึงเหมาะสำหรับเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ

3.7 อาร์เอสเอส (Really Simple Syndication: RSS)
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สนใจโดยตรง ซึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจมีความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลที่แตกต่างกันไปผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่การให้บริการเผยแพร่แบบอัตโนมัติ   ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ แล้วคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ดังกล่าวเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ขอรับบริการไว้เป็นสัดส่วนที่สะดวกต่อการเข้าถึง
3.8 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce หรือ e-commerce)
เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายโดยใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการเสนอสิ้นค่า ทำผู้เข้าใช้บริการจากทุกประเทศเข้าถึงร้านค้าได้อย่างง่ายดาย และตลอด 24 ชม.

4 โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์
            ขณะใช้งานอินเตอร์เน็ตมักมีโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์แฝงมากับข้อมูล โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า มัลแวร์ (malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
  ไวรัส (Virus) ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้บริการและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ได้
   เวิร์ม (Worm) หรือหนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองได้แล้วส่งไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ทันที
   ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นคนอื่น
  สปายแวร์ (Spyware) เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตามบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลรายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเตอร์เน็ตหรือทำการปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานช้าลง
  แอดแวร์ (Adware) เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้วจะแสดงหน้าต่าง ป๊อปอัพ (Pop-up) มีการโฆษณาออกมาเป็นระยะ ๆ
  สแปม (Spam) เป็นการใช้ระบบส่งอีเมล์ในการส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สแปม ที่พบบ่อย คือการส่งข้อความโฆษณาสินค้า ผ่านระบบอีเมล์เรียกว่า เมลล์ขยะ (Junk Mail)

5. ผลกระทบการใช้งานอินเตอร์เน็ต
บริการบนอินเตอร์เน็ตมีการพัฒนาให้มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก และรวดเร็วสามารถใช้เป็นเครื่องมอในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในเชิงวิชาการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันในสังคมใหม่ที่เรียกว่า สังคมในโลกไซเบอร์
                เนื่องจากสมาชิกในโลกไซเบอร์สามารถสร้างตัวตนใหม่ที่อาจมีบุคลิก นิสัย แม้แต่อายุที่แตกต่างไปจากตัวตนที่แท้จริง ทำให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น
1. ปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์ทางสังคม ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อกันเป็นเวลานานเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาโรคติดอินเตอร์เน็ต
2. ปัญหาอาชาญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชาญากรรมหลายรูปแบบเช่น
  เจาะระบบรักษาความปลอดภัย ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อกระทำการใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจ การบิดเบือนข้อเท็จจริง
  ขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยช่องทางการสื่อสารหรืออินเตอร์เน็ต โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบเพื่อหลอกล่อให้เป็นเยื่อเกิดความไว้วางใจ และหลงเชื่อ
  เผยแพร่ภาพอนาจาร การเผยแพร่ภาพอนาจารต่าง ๆ โดยวิธีการที่หลากหลาย ผ่านการสร้างไฟล์ไวรัส เจาะเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์
3. ปัญหาล่อลวงในสังคม จาการที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต สร้างตัวตนขึ้นมาในการติดต่อสนทนากับผู้อื่นเพื่อล่อลวงให้คู่สนทนาสนใจตัวตนใหม่และนัดพบเพื่อกระทำอันตรายต่าง

บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น
3. ต้องไม่เปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล
 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ
 6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกหรือใช้โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
 7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ
 8. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
 9. ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากโปรแกรมที่ตนเองพัฒนาขึ้น
10ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบกติกาและมารยาทในสังคม

         1. วัตถุประสงค์
         2. ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม
         3. วิธีการใช้โปรแกรม
         4. แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
         5. รายละเอียดโปรแกรม
         6. ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ
         7. ผลลัพธ์ของการทดสอบ

6. การบำรุงรักษาโปรแกรม

          เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้
งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้
คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้
เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งาน
โปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไป
นานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับ
เหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้
ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAYQjB0&url=https%3A%2F%2Fmimmira.wordpress.com%2F2013%2F08%2F06%2F%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2587%2F&ei=lsbIVPrRFMKmmAXuuIHYCQ&bvm=bv.84607526,d.dGY&psig=AFQjCNFUAljrTjjVnJMydi4BWFp22MVeNw&ust=1422530576733464

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


1.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ใน
การทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดใช่โทรศัพท์
เครื่องที่(mobile phone)หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร
         คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology: IT )เรียกย่อว่า"ไอที"ประกอบ
ด้วยคำว่า"เทคโนโลยี" และคำว่า"สารสนเทศ" นำมาร่วนกันเป็น"เทคโนโลยีสารสนเทศ" 
และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication 
Technology: ICT) หรือเรียกย่อว่า"ไอซีที"ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
           เทคโนโลยี( Technology ) หมายถึง การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการ
พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ
     สารสนเทศ( Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ
          

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผ่นแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการ
สื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล


http://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAYQjB0&url=http%3A%2F%2Fthn24360.blogspot.com%2F2014%2F08%2Fblog-post_40.html&ei=18bIVPWkBYbMmwXgm4HgDw&bvm=bv.84607526,d.dGY&psig=AFQjCNGMeYbMPJSm59FSCxEGZl7k2aebiw&ust=1422530639893937

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
1องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 5 หน่วย ได้แก่
1. หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์รับ
ข้อมูลซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้าไปทำการประมวลผล
2. หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง ซึ่งจะทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ
3. หน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์กำลังประมวลผล และเป็นที่พักข้อมูลระหว่างที่ซีพียำกำลังประมวลผล
4. หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูให้ผู้ใช้รับทราบ
5. หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบถาวรบนคอมพิวเตอร์

2หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งประกอบด้วยเลข 0และ 1 แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง ในระหว่างการประมวลผลหากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปจัดเก็บในหน่วยความจำ ข้อมูลจะถูกส่งไปยังแรม ขณะเดียวกัน อาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์หน่วยส่งออก เช่น จอภาพ



2.1 ซีพียู และการประมวลผล
ซีพียู มีลักษณะเป็นชิป ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย โดยวงจรประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก ปัจจุบันซีพียูถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง โดยรวมวงจรต่างไว้ในชิปเพียงตัวเดียวเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ภายในไมโครโพรเซสเซอร์ประกอบด้วย หน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณและตรรกะ เรียกสั้นๆ ว่า เอแอลยู
หน่วยควบคุม เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยควบคุมจะแปลความหมายคำสั่งในโปรแกรมของผู้ใช้ และควบคุมให้อุปกรณ์ต่างๆทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือเอแอลยู เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเอแอลยู จะรับข้อมูลจากหน่วยความจำมาเก็บไว้ในที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยู เรียกว่า เรจิสเตอร์ เพื่อทำการคำนวณกลับไปยังหน่วยความจำ



2.2 หน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล
          หน่วยความจำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ แม้ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ตัวอย่างของหน่วยความจำชนิดนี้เช่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟลช
- รอม เป็นหน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้
- หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีการใช้รอมในการเก็บไบออส ไบออสทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรมพื้นฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นกระบวนการบูตของเครื่องคอมพิวเตอร์
2. หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากเกิดไฟดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป หน่วยความจำชนิดนี้ เช่น แรม

แรม สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. สแตติกแรม หรือแรมเอส มักพบในตัวซีพียูทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม ตัวอย่าง เอสแรม
2. ไดนามิกแรม หรือดีแรม เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ราคาไม่แพง  ความจุสูง
2.3 ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีเมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำ และฮาร์ดดิสก์ โดยการส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างอุปกรณ์ จะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลที่เรียกว่า บัส



3การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
- งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการด้านเอกสาร รายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1GHz ขึ้นไปแต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกจอภาพแบบแอลซีดีขนาด 17-19 นิ้ว
- งานกราฟิก เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ เช่น งานสิ่งพิมพ์ สร้างเว็บไซต์ ฯลฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2GHz ขึ้นไป ใช้แรมอย่างน้อย2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
- งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ แอนิเมชั่น ฯลฯ งานประเภทนี้ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณ และแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ดี ควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟฟ้า

4การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดให้แล้ว และเลือกซื้อจากบริษัทที่เชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเลือกซื้อชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการหรือเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ซีพียู เมนบอร์ด หลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์มีดังนี้
4.1 ปัจจัยในการเลือกซื้อซีพียู
1.บริษัทผู้ผลิต มี 2 บริษัทชั้นนำ คือ บริษัทอินเทล และ บริษัทเอเอ็มดี
2.ความเร็วของซีพียู ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณนาฬิกา
3.หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำความเร็วสูงเพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น ควรพิจารณาเลือกซื้อซีพียูที่ความจุของหน่วยความจำแคชมาก
4.ความเร็วบัส คือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วบัสสูง และสอดคล้องกับความเร็วของอุปกรณ์อื่น
4.2 เมนบอร์ด ต้องคำนึงถึงในการซื้อเมนบอร์ด
                เช่น ซ็อกเก็ตซีพียู ฟอนต์ไซด์บัส สล๊อตหน่วยความจำ ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ หรือ สล๊อต พอร์ต ขั้วต่อและรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์
4.3 ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อแรม
1. ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล๊อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด
2. ความจุ มีตั้งแต่ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกจะใช้แรมที่มีความจุสูง สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรม 1 GB ขึ้นไป
3. ความเร็วของแรม เลือกใช้ความเร็วให้สอดคล้องกับความเร็วบัสและเมนบอร์ด
4.4 ปัจจัยในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
1. การเชื่อมต่อ ใช้มาตรฐาน WIDE และ DATA
2. ความจุข้อมูล ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้
3. ความเร็วรอบ โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์ของซีพีจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที
4.5 ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
1. ชิปประมวลผลกราฟิก หรือจีพียู เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผล
ถ้าประมวลผลสามมิติ อาจใช้ชิปของบริษัท NVidia รุ่น GeForce 9 และ GTX2xx
2. การเชื่อมต่อ มี 2 แบบ คือ แบบใช้กับบัส PCI Express และ บัส AGP
3. ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด ถ้ามีความจำมากของหน่วยความจำมาก
จะแสดงภาพมัลติมีเดียความละเอียดสูงได้ดี

การพิจารณาเลือกซื้อออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ
1.ซีดีไดร์ฟ ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว
2.ดีวีดีไดร์ฟ ใช้อ่านทั้งแผ่นซีดี และดีวีดี แต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงได้
3.ซีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีได้
4. คอมโบไดร์ฟ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีและอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้
5.ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดี และดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว
4.เคส โดยทั่วไปเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้กับอุปกรณ์ภายในต่างๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น

หลักในการพิจารณาเลือกซื้อเคส
- มีช่องระบายความร้อน
- มีพื้นที่ที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้
- ลักษณะของเคส เช่น เคสในแนวนอน
- ในกรณีที่เป็นการใช้งานทั่วไป อาจเลือกใช้เคสที่มีแหล่งจ่ายไฟ ติดตั้งมาให้สำเร็จแล้ว
4.จอภาพ ที่พบอยู่มี 2 ประเภท คือ จอซีอาร์ที และ แอลซีดี
ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ เช่น
- ความละเอียดของภาพ ถ้ามีความละเอียดสูงจะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น
- ขนาด ขนาดของจอภาพจะวัดเป็นแนวทแยงมุม
5การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลารับประกันต่างกัน เช่น แรม รับประกันตลอดอายุการใช้งาน และ อาร์คดิสก์อาจรับประกัน1-5 ปี



6ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น
2. ไม่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
3. ไม่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่างเนื่องจากอาจโดนแสงแดดหรือฝนสาด
4. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ใกล้สนามแม่เหล็ก เนื่องจากสนามแม่เหล็กจะทำให้การแสดงภาพผิดเพี้ยนไปจากความจริง
5. ถ้าหากที่บ้านไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟยูพีเอส
6. ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง
7. ไม่ควรวางของเหลวใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดปิดสวิตช์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ เนื่องจากระบบปฏิบัติการต้องดำเนินการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานต่างๆของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ก่อนจะหยุดการทำงาน

7การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของซีพี
     1. เครื่องหยุดการทำงานขณะใช้งานอยู่
สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟจ่ายกำลังไฟฟ้าไม่พอ
การแก้ไข นำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นที่ต่อพ่วงอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไป

    2. เปิดเครื่องแล้วปรากฏข้อความว่า “DISK BOOT FAILURE, INSERT DISK SYSTEM PRESS ENTER”
สาเหตุ เครื่องบูตไม่พบฮาร์ดดิสก์
การแก้ไข ตรวจสอบโปรแกรมไบออสว่า บูตฮาร์ดดิสก์ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่
    3. อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีไม่ได้
สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก
การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน
    4. เครื่องรีสตาร์ทเองขณะใช้งาน
สาเหตุ ซีพียูมีความร้อนสูง

การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่นหรือไม่
http://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&frm=1&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0CAYQjB0&url=http%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fnews_detail.php%3Fnewsid%3D1365757827&ei=EcfIVJ-UH8blmAX08YDoBQ&bvm=bv.84607526,d.dGY&psig=AFQjCNGxpiVp7slHaiuxBoEjTDOmiARQTQ&ust=1422530702223198